ความจริงแล้วนกพิราบทุกสายพันธ์ล้วนแล้วแต่เป็นพาหะนำโรคให้กับมนุษย์ทั้งสิ้น แต่ต้องแยกแยะก่อนว่า ถ้าเป็นนกพิราบที่คนเลี้ยง มีการดูแลเอาใจใส่อย่างดีแล้วนั้น ความเป็นไปได้ที่นกพิราบจะมีเชื้อโรคหรือเป็นพาหะนำโรคให้กับมนุษย์นั้น มีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
แต่สำหรับนกพิราบที่พูดถึงนี้ ที่ควรจะป้องกัน หรือ ไล่นกพิราบ ไม่ให้เข้าใกล้เราคือ ไม่ใช่นกพิราบที่คนเลี้ยง แต่เป็นนกพิราบที่อพยพย้ายถิ่นฐานจากแหล่งที่อยู่อื่นๆมาเรื่อยๆ จนเข้ามาบุกรุกในพื้นที่หรือสถาณที่ที่มนุษย์อาศัยอยู่ เพราะสาเหตุนี้เราจึงไม่สามารถทราบได้เลยว่า นกพิราบที่อพยพเข้ามานั้นจะนำพาเชื้อโรคชนิดใดมาสู่เราบ้าง ดังนั้นเราจึงต้องหาทางป้องกันไว้ก่อน ดังนั้นลองมาดูกันว่า นกพิราบสายพันธ์ใดที่ควรระวังนกพิราบที่ควรระวังนั้นมีลักษณะอย่างไร และนกพิราบเป็นพาหะนำโรคชนิดใดได้บ้าง
นกพิราบ เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี ในสมัยโบราณจะใช้ในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นนกที่มีประสาทสัมผัสเป็นอย่างดีในการที่จะหาทางกลับมาสู่้ถิ่นฐานที่จากมา แม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตามด้วยการใช้สนามแม่เหล็กโลกแบบเดียวกับเต่าทะเล อีกทั้งยังใช้แสงแดดและจมูกในการดมกลิ่นอีกด้วย อีกทั้ง ยังนิยมเลี้ยงกันเพื่อการบินแข่งขันกันด้วย และเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อบริโภคเนื้อ และมีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีลักษณะสวยจากธรรมชาติเพื่อการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม นอกจากนี้แล้ว นกพิราบยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในทางสากลหมายถึง “สันติภาพ” โดยมักใช้รูปนกพิราบคาบช่อมะกอก คำว่า “พิราบ” ในภาษาไทยนั้น มาจากคำว่า “วิราว”, “พิราว” หรือ “พิราพ” ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า “เสียงร้อง

ลักษณะของนกพิราบป่า (เป็นสายพันธ์นกพิราบที่ควรต้องระวัง เพราะเป็นนกพิราบเร่ร่อน นกพิราบอพยพ ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน)
ลักษณะที่สังเกตุได้ง่าย คือ นกพิราบป่านั้นลำตัวป้อม หัวเล็ก ขนปกคลุมลำตัวหลากสี แต่ที่พบมากที่สุดมีสีเทาเข้ม และมีแถบใหญ่สีดำขวางที่ปีกสองเส้น คอมีแถบสีเขียวเหลือบ ปากดำและขาแดง เป็นต้นตระกูลของนกพิราบที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน นกที่พบตามธรรมชาติมักเกาะอยู่ตามสายไฟหรือหลังคาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ แหล่งอาหารได้แก่ พวกเมล็ดพืช เศษอาหารจากที่พักอาศัย อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า ร้านอาหาร แหล่งอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน อาคารพานิชย์ เป็นต้น นกพิราบป่านั้นจะผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ทำรังตามสิ่งก่อสร้างหรือซอกหิน วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ง่ายทั่วประเทศ ตามพื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมาะ และป่าโปร่ง แต่ทั้งนกพิราบป่าและนกพิราบเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายของสีและรูปแบบของขนเป็นอย่างมาก มีความแตกต่างระหว่างเพศเล็กน้อย นกชนิดนี้มักมีคู่ครองตัวเดียว มีลูกครั้งละ 2 ตัว พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงดู โดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดชีวิต แม้ว่าคู่จะตายไปแล้ว

ซึ่งนกพิราบป่านั้นเป็นที่รวมของเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่ติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ อาทิ โรคสมองอักเสบจากเชื้อรา, ปอดอักเสบ, ท้องเสีย, เครียด หรือแม้กระทั่งหมัดจากตัวนก นกพิราบมีถิ่นอาศัยในสิ่งแวดล้อมเปิดและกึ่งเปิดในพื้นที่เกษตรกรรมและในเมือง หน้าผาและขอบหินถูกใช้เป็นที่ทำรังวางไข่ของนกในป่า นกพิราบมีถิ่นกำเนิดในยุโรป แอฟริกาเหนือ และทางตะวันตกของเอเชีย ก่อนที่จะแพร่กระจายไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก คาดว่ามีประชากรนกในธรรมชาติประมาณ 17 – 28 ล้านตัวในยุโรป
แต่ในปัจจุบันนี้ นกพิราบมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ มาปะปนกับนกพิราบบ้านหรือนกพิราบเลี้ยง และมีการอพยพย้ายถิ่นฐานจากป่าบุกรุกเข้ามาในชุมชนเมืองซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ของนกพิราบ อีกทั้งยังมีแหล่งอาหารมากมาย เช่น เศษอาหาร จากถังขยะ หรืออาหารตามบ้านเรือนที่พักอาศัย แต่ความจริงนกพิราบเป็นสัตว์ที่น่ารักเป็นสัตว์สังคม ทางบริษัทเราก็เล็งเห็นข้อดีตรงนี้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะไม่ทำร้ายนกพิราบ ไม่ทำอันตรายต่อนกพิราบ เพียงแค่ไล่นกพิราบให้ไปอยู่ในที่ที่นกพิราบควจจะอยู่ เช่น ตามป่า เขา ซึ่งเป็นถื่นฐานเดิมของนกพิราบ แต่เมื่อใดที่นกพิราบติดเชื้อหรือเป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์แล้วนั้น โดยเฉพาะมูลของนกพิราบนั้นเป็นอันตรายต่อมนุษย์มาก ทั้งการหายใจ การสัมผัสโดยตรงกับตัวนกพิราบ หรือ มูลนกพิราบโดยตรง อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสจากนกพิราบ
โรคสมองอักเสบ
สมองอักเสบจากไวรัสอาจเกิดจากการติดเชื้อโดยตรงจากการติดเชื้อเฉียบพลัน หรือเป็นผลตามภายหลังจากการติดเชื้อแฝงก็ได้ ไวรัสที่ทำให้เกิดสมองอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสที่พบบ่อยคือ ไวรัสพิษสุนัขบ้า เฮอร์ปีส์ โปลิโอ หัด และไวรัสเจซี สาเหตุอื่นเช่นการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มฟลาวิไวรัส เช่น ไวรัสไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น ไวรัสสมองอักเสบเซนต์หลุยส์ ไวรัสเวสต์ไนล์ หรือไวรัสในกลุ่มโทกาไวรัส เช่น ไวรัสสมองอักเสบในม้าชนิดตะวันออก ไวรัสสมองอักเสบในม้าชนิดตะวันตก หรือไวรัสสมองอักเสบในม้าชนิดเวเนซุเอลา นอกจากนี้ไวรัสในกลุ่มเฮนิพาไวรัส เฮนดราไวรัส และนิพาห์ไวรัส ก็สามารถทำให้เกิดสมองอักเสบจากไวรัสได้
ปอดอักเสบ
ปอดบวม (อังกฤษ: pneumonia) หรือ ปอดอักเสบ (อังกฤษ: pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ[3] เชื้อแบคทีเรียชื่อ “นิวโมคอคคัส” (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน
ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ
ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น “นายของสาเหตุการตายของมนุษย์” (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้วย
มูลนกพิราบเป็นบ่อเกิดของเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ
รา หรือ เชื้อรา เป็นจุลินทรีย์ เป็นเซลล์ยูแคริโอตที่อยู่ในอาณาจักรเห็ดรา มีโครโมโซมเพียงชุดเดียว (haploid) มีผนังเซลล์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไคติน (chitin) ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีพแบบ saprophyte คือ หลั่งเอนไซม์ออกนอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนให้ได้เป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุดแล้วจึงดูดซับเข้าไปภายในเซลล์ เชื้อรามีความหลากหลายมาก พบทั้งที่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น ยีสต์ เส้นใย (hypha) และ ดอกเห็ด (mushroom) เส้นใยหรือไฮฟา (hypha) เมื่อรวมกลุ่มจำนวนมาก เรียกว่า mycelium